สังคมศึกษา ม.3
Learning for a New Gen. Class
in 21st century
แสดงผลได้ดีกว่าบนเดสก์ท็อป*
ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
—
เลื่อนลง เพื่อดูเนื้อหา
คลิ๊กเลือก สารบัญที่ด้านขวาของเว็บ
ลักษณะทั่วไปของทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยถือเอาแม่น้ำริโอ กรานด (RIO GRANDE) ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก เป็นเขตแบ่งแดน ดินแดนที่อยู่งทางด้านเหนือของแม่น้ำริโอกรานด จัดเป็น กลุ่มแองโกลอเมริกา(ANGLOAMERICA) ส่วนดินแดนทางด้านใต้จัดเป็น กลุ่มลาตินอเมริกา (LATIN AMERICA) ทวีปอเมริกาเหนือมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลกรองจากทวีปเอเชียและทวีแอฟริกา มีเนื้อที่ประมาณ 24 ล้านตารางกิโลเมตร บริเวณด้านใต้ของทวีป (ลาตินอเมริกา) มีลักษณะเรียวยาวเป็นคาบสมุทรเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ
ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของทวีปอเมริกาเหนือ แบ่งได้เป็น 4 เขตใหญ่ๆ คือ
1.เขตหินเก่าแคนาดา
2.เขตเทือกเขาสูงทางตะวันตก
3.เขตท่ราบภาคกลาง
4.เขตเทือกเขาทางตะวันออก
1.เขตหินเก่าแคนาดา หรือ ลอเรนเธียน (THE CANADIAN SHIELD OR LAURENTIAN SHIELD) ได้แก่บริเวณที่ราบรอบๆ อ่าวฮัดสัน ในประเทศแคนาดา เป็นเขตที่มีหินเปลือกโลกอายุเก่าแก่มาก เป็นหินเปลือกโลกยุคเดียวกับเขตหินเก่าบอลติซีลต์ (BALTIC SHIELD)ในทวีปยุโรป เป็นลักษณะของที่ราบที่เคยถูกกัดกร่อนด้วยธารน้ำแข็งมาก่อน จึงมีลักษณะเป็นที่ราบที่มีทะเลสาบขนาดเล็กอยู่ทั่วไป ทะเลสาบที่สำคัญคือ ทะเลสาบทั้งห้า ของทวีปอเมิรกาเหนือ คือ ทะเลสาบสุพีเรีย ทะเลสาบมิซิแกน ทะเลสาบฮูรอน ทะเลสาบอีรี ทะเลสาบออนตาริโอ (H O M E S : HURON ONTARIO MICHIGAN ERRE SUPERIAR) ทางตอนใต้ของเขตหินเก่าแคนาดาระหว่างทะเลสาบอีรี กับ ทะเลสาบออนตาริโอ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยที่สุดของโลก คือ น้ำตกแองกาล่า บริเวณทางตอนเหนือของเขตนี้ซึ่งอยู่ใกล้ขั้วโลก เป็นที่อยู่อาศัยของชาวเอสกิโม ซึ่งนิยมสร้างบ้านด้วยก้อนน้ำแข็ง เรียกว่า “อิกลู” (LGLOO)
2.เขตเทือกเขาสูงทางตะวันตก (THE WESTERN CORDILLERAS) มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงตั้งซ้อนกันเป็นแนวยาวจากเหนือมาใต้ และมีที่ราบสูงคั่นอยู่ระหว่างเทือกเขาต่างๆ เป็นเทือกเขาที่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลก มีอายุน้อย จึงทำให้มีความสูงชันมาก แบ่งเป็น 2 แนว คือ แนวนอก หรือแนวเรียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ เทือกเขาอะลาสกา (ALASKA RA.) มียอดเขาที่สูงที่สุดของทวีปอเมริกาเหนือคือ ยอดเขาแมกคินเลย์ (MT. MCKINLEY) เทือกเขาแคสเก็ต (CAS CADE RA.) เทือกเขาเซียราเนวาดา (SIERA NEVADA) เทือกเขาเซียรามาเดรตะวันตก (SIERRA MADREDEL SUR) และเทือกเขา แนวใน คือ เทือกเขาบรูกซื (BROOKS RA.) เทือกเขาแมคเคนซี (MACKENZIE MTS.) เทือกเขารอกกี้ (ROCKY MTS.) เป็นเทือกเขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ และเทือกเขาเซียรามาเดรตะวันออก (SIERRA MADRE ORIE NTAL)
ภูมิประเทศระหว่างเทือกเขาสูงทั้ง 2 แนว จะมีลักษณะเป็นที่ราบ ที่สำคัญคือ ที่ราบสูงอะลาสกา (ระหว่างเทือกเขาอะลาสกากับเทือกเขาบูรกซ์) ที่ราบสูงบริติซ โคลัมเบีย (ระหว่างเทือกเขาแคสเก็ตกับเทือกเขารอกกี้) ที่ราบสูงเกรต เบซิน (ระหว่างเทือกเขาเซียราเนวาดากับที่ราบสูงโคโลราโด (ระหว่างเทือกเขาเซียราเนวาดาทางตอนใต้กับเทือกเขารอกกี้) ที่ราบสูงโคโลราโด มีลักษณะภูมิประเทศเป็นหุบเหวลึกและกว้างมาก ที่เรียกว่า “แคนยอน” (CANYON) ซึ่งเกิดจากการกัดกร่อนของธารน้ำแข็งและกระแสลม ที่มีชื่อเสียงมากคือ “แกรนด์แคนยอน” (GRAND CANYON) และที่ราบสูงเม็กซิโก (ระหว่างเทือกเขาเซียรามาเดรตะวันตกกับเซียรามาเดรตะวันออก)
3. เขตที่ราบภาคกลาง (THE CENTRAL PLANINS OR CENTRAL LOWLANDS) เป็นเขตที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่มาก เริ่มตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือลงไปจนถึงชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก จากเทือกเขารอกกี้ทางตะวันตกไปจนถึงเทือกเขาอัปปาเลเซียนทางตะวันออก บริเวณเนินเขารอกกี้มีลักษณะเป็นที่ราบสูงโอซาร์ค (OZARK PLATEAU) เป็นที่ราบสูงที่สูงไม่มากนักหรือจะเรียกว่าเป็นบริเวณเนินเขาของเทือกเขารอกกี้ บริเวณที่ราบสำคัญ เช่นที่ราบลุ่มแม่น้ำแมคเคนซี่ (THE MACKENZIE LOWLANDS) อยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศแคนาดา เป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น ประชากรอาศัยอยู่เบาบาง ส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า “เอสกิโม” ซึ่งดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ โดยใช้กวางเป็นพาหนะลากเลือน ทุ่งหญ้าแพรรี่ (PRAERIE) ทางด้านตะวันตกของทะเลสาบทั้งห้า (HOMES) เป็นบริเวณทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวสาลีที่สำคัญของทวีปอเมริกาเหนือ เป็นเขตที่ปลูกข้าวสาลีใหญ่ที่สุดของโลก บริเวณเชิงเขารอกกี้เป็นเขตเงาฝน (RAIN SHADOW) จะใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์เป็นส่วนใหญ่
ที่ราบลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ เป็นบริเวณที่มีพื้นที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกมาก เนื่องจากพื้นที่เป็นดินเหนียวที่เกิดจากการตกตะกอนของธารน้ำแข็ง และเป็นบริเวณที่มีการขนส่งทางน้ำในทวีป โดยใช้ทะเลสาบทั้งห้า เป็นบริเวณที่มีการดินทางขนส่งทางน้ำที่มากทีสุดของโลก รอบๆ ทะเลสาบทั้งห้า และที่ราบลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์เป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น
ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ และ แม่น้ำมิสซูรี (MISSISIPPI & MISSOURI PLAIN) เป็นบริเวณที่มีดินตะกอนน้ำท่วม ซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำสายต่างๆ ได้พัดพาเอาดินตะกอนมาตกทับทมกัน จึงทำให้เป็นพื้นทีที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกฝ้าย ข้าวโพด ข้าวสาลี เป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอย่างหนาแน่น
ที่ราบชายฝั่งแอตแลนติก ได้แก่บริเวณที่ราบตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งแต่บริเวณเทือกเขาอัปปาเลเซียนลงไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก เป็นบริเวณที่มีการเพาะปลูกพืชเมืองร้อน เช่น ยาสูบ ฝ้าย และข้าวเจ้า เนื่องจากเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นกัฟสตรีม
ที่ราบรอบอ่าวแม็กซิโก เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นเหนือศูนย์สูตร ทำให้บริเวณรอบๆ อ่าวแม็กซิโก มีภูมิอากาศร้อนชื้น เหมาะสำหรับทำการเพาะปลูกพืชเมืองร้อน ที่สำคัญคือ ยาสูบ ฝ้าย และข้าวเจ้า
ที่ราบสูงโอซาร์ค (OZARK PLATEAU) เป็นที่ราบสูงที่อยู่ติดกับเทือกเขาร็อกกี้ ทางตอนใต้ เป็นบริเวณที่มีภูมิประเทศแห้งแล้ง เป็นทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย หรือทุ่งหญ้าสแตปป์ (STAPPE)
4.เขตเทือกเขาทางด้านตะวันออก (THE EASTERN HIGHTLANDS) ได้แก่ เทือกเขาอัปบาเลเซียน (APPALACHIAN MTS.) มีความสูงเพียง 2,000 แมตร มียอดสูงสุดคือ ยอดเขามิตเซล(MITCHELL) อยู่ในมลรัฐแคโรไลนาเหนือ เป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยน้อย และมีฐานะยากจน
ลักษณะภูมิอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ
เนื่องจากทำเลที่ตั้งของทวีปอเมริกาเหนืออยู่ทวีปอเมริกาเหนือตั้งอยู่ในเขตซีกโลกเหนือระหว่างละติจูด 7 องศาเหนือ 15 ลิปดาเหนือถึง 83 องศา 38 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 55 องศา 42 ลิปดาตะวันตกถึง 168 องศา 05 ลิปดาตะวันตก จึงทำให้ทวีปอเมริกาเหนือมีภูมิอากาศหลายประเภท ทั้งภูมิอากาศเขตร้อน ภูมิอากาศเขตอบอุ่น และภูมิอากาศเขตหนาว ซึ่งพอจะแบ่งออกได้เป็น 12 เขต คือ
1.ภูมิอากาศร้อนชื้น ได้แก่บริเวณอเมริกากลาง หรือ ลาตินอเมริกา และหมู่เกาะอินเดสตะวันตก (ที่ตั้งของประเทศคิวบา) มีภูมิอากาศร้อน มีฝนตกชุกตลอดปี พืชพันธุ์ธรรมชาติได้แก่ ป่าไม้เมืองร้อน
2.ภูมิอากาศแห้งแล้งแถบร้อน ได้แก่บริเวณที่ราบสูงแม็กซิโก และชายฝั่งด้านตะวันตกของอเมริกากลาง มีอุณหภูมิสูงมากในฤดูร้อน ฝนตกน้อย พืชพันธุ์ธรรมชาติได้แก่ ทุ่งหญ้าเขตร้อน เป็นหญ้าต้นยาว ที่รู้จักกันดีคือ หญ้าคา เราเรียกภูมิอากาศแห้งแล้งแถบบร้อนอีกแบบหนึ่งว่าภูมิอากาศแบบ ทุ่งหญ้าสาวานา (SAVANA) บริเวณที่แห้งแล้งมากๆ จะเป็นพืชพันธุ์ธรรมชาติแบบทะเลทราย
3.ภูมิอากาศทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายแถบอบอุ่น ได้แก่บริเวณที่ราบสูงบริติสโคลัมเบีย มีอากาศแห้งแล้งมาก ในฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ฝนตกน้อย พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าต้นสั้นที่เรียกว่าภูมิอากาศแบบ ทุ่งหญ้าสแตปป์ (STEPPE) ส่วนมากใช้ประโยชน์ด้านการเลี้ยงสัตว์เขตอบอุ่น
4.ภูมิอากาศอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ได้แก่บริเวณทีราบรอบๆ ทะเลสาบทั้งห้า (HOMES) ลักษณะอากาศมีอุณหภูมิต่ำในฤดูหนาว ฤดูร้อนอุณหภูมิสูงปานกลาง มีฝนตกในฤดูร้อน พืชพันธุ์ธรรมชาติได้แก่ ป่าผลัดใบชนิดใบกว้าง เช่น โอ๊ก บีซ เมเบิล เอล์ม และเซสต์นัต
5.ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ได้แก่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เลียบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก และที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ แม่น้ำมิสซูร ลักษณะภูมิอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง ฝนตกตลอดปี ไม่มีฤดูแล้ง พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบเขตอบอุ่น ส่วนบริเวณภายในทวีปเป็นทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (STEPPE) เนื่องจากมีฝนตกน้อย
6.ภูมิอากาศภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ทางด้านตะวันตกของประเทศแคนาดา เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของลมตะวันตกที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิก ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบอบอุ่น ฤดูร้อนอุณหภูมิปานกลาง ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด มีฝนตกเล็กน้อยตลอดปี พืชพันธุ์ธรรมชาติได้แก่ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น บริเวณที่มีอากาศหนาวจะเป็นป่าสน
7.ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ระหว่างละติจูดที่ 30 – 40 องศาเหนือ มีอากาศอบอุ่นในฤดูหนาว และร้อนจัดในฤดูร้อน ท้องฟ้าโปร่งตลอดปี มีฝนตกปานกลาง ส่วนใหญ่ตกในฤดูหนาว พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าละเมาะ เป็นพุ่มไม้เตี้ยๆ ที่เรียกว่า “ป่าแคระ”
8.ภูมิอากาศหนาวกึ่งขั้วโลก หรือ ภูมิอากาศแบบป่าไทก้า ได้แก่บริเวณทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา และมลรัฐอะลาสก้าของอเมริกา ลักษณะภูมิอากาศหนาวจัดเป็นระยะเวลานาน มีหิมะตกหนัก ฤดูร้อนอากาศเย็นและมีระยะสั้น มีฝนตกน้อย พืชพันธุ์ธรรมชาติได้แก่ป่าสน
9.ภูมิอากาศแบบทุนดรา ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์ติกของมลรัฐอะลาสก้าและแคนาดา ร่วมทั้งชายฝั่งของเกาะกรีนแลนด์ ลักษณะอากาศหนาวเย็นตลอดปี พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นพวก มอส ตะไคร่น้ำ เฟิ้น
10.ภูมิอากาศทุ่งน้ำแข็ง ได้แก่บริเวณเกาะกรีนแลนด์ ลักษณะภูมิอากาศหนาวจัดตลอดปี พื้นที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งตลอดปี ไม่มีพืชพันธุ์ใดๆ ขึ้นได้เลย บริเวณขอบชายทะเลจะมีพืชพันธุ์ธรรมชาติจำพวก มอส ตะไคร่น้ำ เฟิ้น ขึ้นได้บ้าง
11.ภูมิอากาศทะเลทราย ได้แก่บริเวณตอนกลางของที่ราบสูงเม็กซิโก ลักษณะภูมิอากาศร้อนจัดตลอดปี มีฝนตกน้อยมากพืชพันธุ์ธรรมชาติได้แก่ พืชทะเลทราย เช่น กระบองเพชร ไม้พุ่มหนาม
12.ภูมิอากาศแบบที่สูง ได้แก่บริเวณเทือกเขารอกกี และเทือกเขาทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันไปตามระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล บริเวณยอดของเทือกเขาสูงเหล่านี้จะเป็นป่าสน บางแห่งมีหิมะปกคลุมแบบทุนดราซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความสูงของเทือกเขาเป็นสำคัญ
ทรัพยากรและอาชีพของทวีปอเมริกาเหนือ
การเพาะปลูก ทวีปอเมริกาเหนือแม้ว่าจะมีพื้นที่ทวีปกว้างใหญ่เป็นอันดับสามของโลก แต่ก็มีพื้นที่ในการเพาะปลูกไม่มากนัก เนื่องจากปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ
- พื้นที่ราบส่วนใหญ่มีอากาศหนาวเย็น และแห้งแล้ง ที่ไม่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก
- พื้นที่เป็นเทือกเขาสูงอยู่มาก โดยเฉพาะด้านตะวันตกของทวีป
- มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง จึงทำให้ความต้องการใช้ที่ดินในการเพาะปลูกน้อยพืชที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวโพด บริเวณทุ่งหญ้าแพรรี่ เป็นบริเวณที่มีการปลูกข้าวสาลีมากที่สุดของโลก รองลงมาคือ ยาสูบ ถั่วเหลือง อ้อย มลรัฐแคลิฟอร์เนียของอเมริกามีการปลูกส้ม ยาสูบ มาก
บริเวณทางภาคใต้ของทวีปและบริเวณหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ปลูก ยาสูบ อ้อย กันมาก การเพาะปลูกในทวีปอเมริกาเหนือเป็ฯการทำการเกษตรกรรมแบบผสม (MIXED FARMING BELT) คือ เลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกควบคู่กันไป
การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์กันมากที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง ที่อยู่ใกล้เทือกเขารอกกี้ ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยหากินตามทุ่งหญ้าควบคู่กับการเพาะปลูก และเลี้ยงแบบคอกปศุสัตว์ขนาดใหญ่ในบริเวณตัวเมือง สัตว์ที่เลี้ยงเป็นพวกวัวเนื้อ แกะ และแพะ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ (ST. LAWRENCR) รอบๆ ทะเลสาบทั้งห้า เป็นบริเวณที่เลี้ยงโคนมมากที่สุดของทวีปอเมริกาเหนือ บริเวณทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา และมลรัฐอะลาสก้าของอเมริกา ซึ่งมีภูมิอากาศหนาวเย็นแบบทุนดรา ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเอสกิโม จะเลี้ยงกวางเรนเดียร์ เพื่อใช้ในการลากเลือนพาหนะในการเดินทาง และใช้เป็นอาหาร
การล่าสัตว์ แต่เดิมการล่าสัตว์เป็นอาชีพสำคัญอย่างหนึ่งของทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะการล่าสัตว์ที่มีขนปกปุย เช่น มิงก์ สุนัขจิ้งจอก หมี และบีเวอร์ เพื่อนำขนมาทำเครื่องนุ่มห่มราคาแพง ในปัจจุบันการล่าสัตว์ได้ลดความสำคัญลง จนมีการประกาศห้ามล่าสัตว์หลายประเภท เพื่อสงวนรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไว้ ซึ่งทำให้ปริมาณสัตว์ป่าในทวีปอเมริกาเหนือ มีปริมาณอยู่ในระดับที่น่าพอใจ การล่าสัตว์ส่วนใหญ่ทำโดยชาวพื้นเมือง คือ พวกอินเดียแดง ในบริเวณที่ราบเชิงเขารอกกี้ และพวกเอสกิโมในบริเวณเขตทุนดรา ทางตอนเหนือของทวีป
การประมง ทวีปอเมริกาเหนือมีแหล่งจับปลาที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก คือ แกรนด์แบงก์ (GRAND BANK) เป็นบริเวณที่มีปลาชุกชุมที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อยู่บริเวณเกาะนิวฟันแลนด์ ด้านตะวันออกของทวีป เป็นบริเวณที่มีกระแสน้ำอุ่นกลัฟ์สตรีม และกระแสน้ำเย็นเลบราดอร์ ไหลมาบรรจบกัน ปลาที่จับได้ส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาคอด ปลาแฮริง
การทำป่าไม้ ทวีปอเมริกาเหนือผลิดไม้ได้มาก รองจากทวีปยุโรป ไม้สำคัญคือ ไม้สน และไม้ผลัดใบเขตอบอุ่น บริเวณทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา มลรัฐอะลาสก้า นำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์กระดาษเป็นส่วนใหญ่
การขุดแร่ แร่สำคัญของทวีปอเมริกาเหนือคือ เหล็ก และถ่านหิน บริเวณที่ราบหินเก่าแคนาดา รอบๆ ทะเลสาบทั้งห้า ทองแดง ในเขตที่ราบสูงทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา น้ำมันปิโตเลียม มีมากที่บริเวณที่ราบภาคกลาง และชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก
การอุตสาหกรรม ทวีปอเมริกาเหนือเป็นทวีปที่มีความเจริญทางด้านอุตสหกรรมสูงที่สุดในปัจจุบัน เขตอุตสาหกรรมสำคัญๆ อยู่ที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเซนรอเลนต์ และรอบๆ ทะเลสาบทั้งห้า เมืองอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่
- เมืองอิลลินอยส์ เป็นศูนย์กลางเครื่องจักรกลและเครื่องยนต์
- เมืองนิวยอร์ก เมืองเพนซิลวาเนีย และนิวอิงแลนด์ เป็นศูนย์กลางเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
- เมืองดีทรอย์ เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์
การคมนาคมของทวีปอเมริกาเหนือ
การคมนาคมขนส่งของทวีปอเมริกาเหนือมีอยู่อย่างหนาแน่น และทันสมัย
ทางรถไฟ ทวีปอเมริกาเหนือมีเส้นทางรถไฟมากกว่าทวีปอื่นๆ ทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาจัดว่าเป็นประเทศที่มีเส้นทางรถไฟมากที่สุดในโลก มีเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันออกของทวีป กับมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกของทวีป ถึง 6 สายด้วยกัน
ทางรถยนต์ ทวีปอเมริกาเหนือมีเส้นทางรถยนต์ชั้นดี และมาตรฐาน อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณว่าพลเมืองทุก 3 คน จะมีรถยนต์ใช้ส่วนตัว 1 คน
ทางน้ำ การขนส่งทางแม่น้ำ ลำคลอง ในทวีปอเมริกาเหนือ มีทำกันมาก 2 บริเวณคือ บริเวณทะลสาบทั้งห้า และบริเวณแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ การขนส่งทางทะเลสาบทั้งห้าส่วนใหญ่เป็นการขนส่งแร่เหล็ก ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าสำเร็จรูปต่างๆ เช่น เครื่องจักรกล รถยนต์ มีการขุดคลองเชื่อมระหว่างทะเลสาบทั้งห้า เช่น
- คลองอีรี หรือเรียกว่า คลองนิวยอร์ก สเตท บาร์จู (NEW YORK STATE BARGE CANAL) เชื่อมทะเลสาบอีรี ทีเมืองบัฟฟาโลกับเมืองทรอย บนฝั่งแม่น้ำฮัดสัน จากนั้นอาศัยแม่น้ำฮัดสันออกมหาสมุทรแอตแลนติกที่เมืองท่านิวยอร์ก
- คลองอิลลินอยส์ (ILLINOIS WATERWAY) เชื่อมเมืองซิคาโก บนฝั่งทะเลสาบมิซิแกน กับเมืองลาซาล (LA SALLE) บนฝั่งแม่น้ำอิลลินอยส์ เป็นเส้นทางที่ผานไปติดต่อกับกับแม่น้ำมิสซิสซิปปี้
- คลองซุซองต์มารี (SOULT STE. MARIE) เชื่อมทะเลสาบสุพีเรีย กับ ทะเลสาบฮูรอน
- คลองเวลแลนด์ เชื่อมทะเลสาบอีรี กับ ทะเลสาบออนตาริโอ
- คลองเซนต์ลอเรนว์ซีเวย์ (ST. LAWRENCE) เชื่อมทะเลสาบออนเตริโอ กับ แม่น้ำเซนต์ลอเรน
สำหรับการคมนาคมในแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ใช้เป็นทางขนส่งถ่านหิน ข้าวสาลี ฝ้าย ออกทะเลที่อ่าวเม็กซิโก ที่เมืองท่านิวออลีนส์ การคมนาคมทางทะเล ทวีปอเมริกาเหนือ มีการคมนาคมติดต่อกับทวีปยุโรป โดยมีเมืองท่าอยู่ตลอดแนวชายฝั่งแอตแลนติก ได้แก่ เมืองนิวยอร์ก เมืองฟิลลาเดลเฟีย เมืองบอสตัน เมืองควิเบก ส่วนเมืองท่าทางตะวันตกชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ เมืองซานฟานซิสโก เมืองซีแอตเติล คลองปานมา เป็นคลองที่ขุดเชื่อมมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิก ตรงบริเวณคอคอดปานามา ซึ่งลำคลองและบริเวณสองฝั่งคลองเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกว่า คะแนลโซล (CANAL ZONE) มีเมืองบัลโบอา (BALBOA)เป็นเมืองท่าที่ปากคลองด้านมหาสมุทรแปซิฟิก และเมืองโคลอน (COLON) ที่ปากคลองด้านมหาสมุทรแอตแลนติก
ทางอากาศ ทวีปอเมริกาเหนือมีเส้นทางการบินเชื่อมเมืองต่างๆ อย่างทั่วถึง และมีสายการเบินติดต่อกับประเทศต่างๆทั่วโลก เมืองท่าอากาศยานสำคัญได้แก่ เมืองนิวยอร์ก เมืองวอซิงตัน ดี.ซี. เมืองลอสแองเจรีส เมืองโฮโนลูลู โดยมีสายการบินแพนแอม(PAN AM) และสายการบิน T.W.A เป็นสายการบินระหว่างประเทศที่สำคัญ ปัจจุบันทวีปอเมริกาเหนือจัดเป็นศูนย์กลางการบินของโลก
อยากย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่แรกไหม?